ปรับปรุงล่าสุด 13 มิ.ย. 2024 03:58:49 1,917

ด้านการเมืองการปกครอง

  • เขตการปกครอง   ตำบลโนนก่อประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน 14  หมู่บ้าน
  • การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 14 หมู่บ้าน มีผู้บริหารท้องถิ่น     (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน สมาชิกสภาองค์การบริหาร  ส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน 14 หมู่บ้าน รวมเป็น 28 คน

ประชากร

          ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ประชากรทั้งสิ้น  จำนวน 10,941 คน แยกเป็นชาย  5,600 คน หญิง 5,341 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 28.56 คนต่อตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ  เดือนกันยายน  2559)

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

ครัวเรือน

1

บากชุม

533

486

1,019

274

2

แหลมทอง

393

426

819

303

3

แก่งศรีโคตร

535

481

1,016

384

4

โนนก่อ

464

428

892

235

5

เหล่าคำ

437

449

886

335

6

ป่าเลา

558

537

1,095

394

7

ห้วยเดื่อ

517

511

1,028

349

8

เกตุสิริ

282

241

523

196

9

ภูไทพัฒนา

313

317

630

211

10

พลาญชัย

762

675

1,437

543

11

โนนสมบูรณ์

105

99

204

78

12

โนนสว่าง

392

396

788

180

13

แก้งน้อย

138

131

269

98

14

ป่าใต้

171

164

335

107

                      รวม

5,600

5,341

10,941

3,687

ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน 35 – 55 ปี

การนับถือศาสนา

ประชาชนในเขตตำบลโนนก่อ  จะนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ โดยมีศาสนสถาน 34 แห่ง  คือ วัด  สำนักสงฆ์  ที่พักสงฆ์  และโบสถ์  ดังนี้

    1. วัด                                 จำนวน  13  แห่ง
    2. สำนักสงฆ์                      จำนวน  17   แห่ง
    3. สำนักคริสต์จักร               จำนวน   3   แห่ง
    4. โบสถ์ (ศาสนาพุทธ)         จำนวน   1   แห่ง (วัดโนนก่อ)
  • ประเพณีและงานประจำปี

เดือน

ประเพณี

          สาม – สี่           บุญมหาชาติ
          ห้า           บุญสงกรานต์
          หก           ประเพณีเลี้ยงปู่ตา
          แปด           บุญเข้าพรรษา
          เก้า           บุญข้าวสาก
          สิบ           บุญข้าวประดับดิน
          สิบเอ็ด           บุญออกพรรษา
          สิบสอง           บุญกฐิน
          หนึ่ง – สอง           บุญผ้าป่า

 

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

 – ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น  คือ

กลุ่มผลิตภัณฑ์จากตอไม้ รากไม้ สิ่งประดิษฐ์จากไม้  เช่น เต่า มังกร ฯลฯ

 – ภาษาถิ่น คือ ภาษาที่ใช้สื่อเป็นภาษาอีสาน 95 %  และภาษอื่น 5 % ที่มาจากราษฎรที่อพยพมาจากพื้นที่ต่างๆ เช่น จังหวัดศรีสะเกษ  จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

          สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกที่โดดเด่น  คือ ผลิตภัณฑ์จากตอไม้ รากไม้ สิ่งประดิษฐ์จากไม้  เช่น เต่า มังกร ฯลฯ